“When a Large Typhoon Arrives,
Stay with Family”(2019)
Video installation and sculpture “When a Large Typhoon Arrives, Stay with Family” (2018) which has been developed in “THAITAI Reconversation: Based on True Story” exhibition expresses his interest in issues regarding emigration and habitation, and raises questions towards small imagined communities, whether they share relationships between each other or not, through perception of the past which clings to an area, an object, or belief shared together. These communities indicate way-of-life intertextuality of traditions, belief, and rituals that Chinese emigrants in Thailand and Taiwan hold. Recorded interviews conducted during the residence and the operation in Taipei have told stories about the proper construction of tombstones which connects to letters, positions, and colors applied, and stories about cemeteries through memories that people connecting with the area for more than 60 years hold. Saroot tries to connect engraved tombstones, which in the manner of archaeological context is considered a form of the most ancient art that belongs to art about death which connects to those who are still alive, with profound meanings about people’s life roots and background. Tombs and cemeteries in the dimension of space and places have become things that connect inconsistency of the past, the present, and the future of the invisible chain. Those who are strict about Qingming rituals would travel back to their hometowns to meet their relatives and friends and together clean the tombs of their common descent, although the rituals occur under concepts of imagined communities.
ผลงานวีดีโอจัดวางและประติมากรรม When a large typhoon arrives, Should stay with family, 2018 ซึ่งพัฒนาขึ้นในนิทรรศการ ไทย-ไท บทสนทนาย้อน: สร้างจากเรื่องจริง แสดงออกถึงความสนใจของสะรุจในประเด็นของการอพยพโยกย้าย การตั้งถิ่นฐานแบบชั่วคราว และตั้งคำถามกับชุมชนจินตกรรมขนาดย่อม ที่อาจมีความสัมพันธ์ต่อกันหรือไม่ก็ตามผ่านความรับรู้เกี่ยวกับอดีตที่ผูกพันอยู่กับพื้นที่ๆหนึ่ง หรือวัตถุและความเชื่ออย่างใดอย่างหนึ่งที่มีร่วมกัน เป็นตัวชี้วัดความเชื่อมโยงในทางประเพณี ความเชื่อ และพิธีกรรม ของชาวจีนอพยพและตั้งรกรากใหม่ในถิ่นฐานอื่นๆ ทั้งในประเทศไทยและไต้หวัน บทสัมภาษณ์ที่บันทึกไว้ระหว่างการลงพื้นที่ พำนักและปฏิบัติงานในกรุงไทเปได้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับการสร้างแท่งหินประดับหลุมศพที่ถูกลักษณะ ซึ่งสัมพันธ์กับตัวอักษร ตำแหน่งและสีที่ใช้ และเรื่องราวเกี่ยวกับสุสานผ่านความทรงจำของบุคคลที่สัมพันธ์กับพื้นที่มายาวนานกว่า 60 ปี สะรุจพยายามเชื่อมโยงแท่งหินสลักซึ่งในบริบททางโบราณคดี ถือเป็นรูปแบบของศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดของศิลปะเกี่ยวกับความตาย ที่เชื่อมโยงกับคนที่ยังมีชีวิต เข้ากับความหมายที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับรากเหง้าและที่มาของบุคคล หลุมศพหรือสุสานในมิติของเทศะและสถานที่ได้กลายเป็นสิ่งที่ยึดโยงความไม่ปะติดปะต่อของอดีต ปัจจุบันและอนาคตของสายโซ่ที่มองไม่เห็น ผู้เคร่งครัดในพิธีกรรมชิงหมิง จะเดินทางกลับไปภูมิลำเนานั้นๆ เพื่อพบปะญาติมิตรสหายและร่วมกันทำความสะอาดสุสานของผู้สืบสายร่วม (common descent) แม้มันจะเกิดขึ้นภายใต้มโนทัศน์ของชุมชนจินตกรรมก็ตาม
HD digital video, audio, red stickers on windows,
Lily flower from marble powder
Duration 10.57 min
ThaiTai Re-conversation: Based on True Story,
Taiwan and Thailand Cultural Exchange Project And Artists in Residency Program